
วิธีการผูกพร้อมเพย์ กับบัตรประชาชน รอรับเยียวยๅเดือนสิงหาคม
วันที่ 30 ก.ค. 64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสมาคมธนาคารไทยประสานธนาคารสมาชิก เพื่อเตรียมพร้อมดำเนินการรับโอนเงินเยียวยาประกันสังคมเข้าบัญชีธนาคารผ่านระบบพร้อมเพย์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33
ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกปิดกิจการตามประกาศคำสั่งของ ศบค. รวม 13 จังหวัด 9 ประเภทกิจการกว่า 2.87 ล้านราย โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะโอนให้ผู้ประกันตนตาม ม.33 ที่ได้รับสิทธิในวันที่ 4-6 ส.ค.64 เฉพาะ 10 จังหวัด จำนวนผู้ประกันตนกว่า 2.87 ล้านรา
ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, นครปฐม, สมุทรสาคร, สมุทรปราการ, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา และสงขลา สำหรับ 3 จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ พระนครศรีอยุธยา จะแจ้งการโอนเงินให้ทราบอีกครั้งในภายหลัง
ทั้งนี้ นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือนี้ ต้องเป็นผู้ได้สิทธิตามคุณสมบัติและเงื่อนไข โดยสปส.จะเปิดให้ตรวจสอบสิทธิบนเว็บไซต์ของ สปส.
โดยผู้ประกันตนที่มีบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนจะได้รับการโอนเงินเข้าบัญชีโดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องติดต่อธนาคารเพื่อเปิดบัญชีใหม่หรือลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยบัตรประชาชนใหม่
สำหรับผู้ประกันตนที่ได้สิทธิและมีบัญชีธนาคาร แต่ยังไม่ได้ผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน หรือ เดิมผูกด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ สามารถดำเนินการผูกบัญชีหรือเปลี่ยนพร้อมเพย์จากโทรศัพท์มือถือ มาเป็นผูกกับหมายเลขบัตรประชาชนด้วยตนเอง ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารที่มีบัญชีอยู่
เช่น Mobile Application, Internet Banking และเครื่อง ATM ตามช่องทางที่แต่ละธนาคารให้บริการ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สาขาธนาคาร เพื่อความสะดวกและลดความเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19
ส่วนผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิและยังไม่เคยมีบัญชีเงินฝาก สามารถใช้บริการเปิดบัญชีผ่านช่องทางออนไลน์ จากนั้นค่อยลงทะเบียนผูกพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขบัตรประชาชน ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เพื่อขอรับสิทธิตามมาตรการเยียวยาดังกล่าว
หากมีข้อสงสัยเรื่องการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน หรือช่องทาง ที่สามารถทำได้ สามารถศึกษาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ หรือ ติดต่อสอบถามผ่านคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารที่ใช้บริการอยู่
ทั้งนี้ ต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ก่อนวันที่ 4 ส.ค.64 อีกทั้งผู้ประกันตน ม.33 สามารถตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรศัพท์สายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับ 13 จังหวัดที่ได้รับการช่วยเหลือล่าสุดเพจ เงินอุดหนุนเด็กเเรกเกิด เเละบัตรสวัสดิการเเห่งรัฐ ได้เผยวิธีการผูกพร้อมเพย์เตรียมรับเงินเยียวย า ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย
1.เข้าเเอปฯKrungthai Next
2.เลือก บริการธนาคาร
3.เลือก บริการพร้อมเพย์
4.เลือกบัญชีเเล้วเลือก ผูกพร้อมเพย์
5.เลือกผูกด้วย เลขประจำตัวประชาชน
6.ยืนยันข้อมูล
ธนาคารออมสิน
1.เข้าสู่เเอปMyMo
2.กดที่เมนูอื่นๆด้านขวาล่างหน้าจอ
3.เลือกเมนู GSBพร้อมเพย์
4.กดที่ปุ่มลงทะเบียน เเละ กดยอมรับเงื่อนไข
5.เลือกผูกพร้อมเพย์กับ บัตรประชาชน หรือ เบอร์โทรศัพท์
6.เลือกบัญชีออมสินที่จะผูกพร้อมเพย์เเล้ว กดยืนยัน
7.ผูกพร้อมเพย์กับธนาคารออมสินเรียบร้อย
ธนาคารธ.ก.ส. ลงทะเบียนพร้อมเพย์ได้ที่ธนาคารธ.ก.ส.ใกล้บ้าน นำบัตรประจำตัวประชาชน,สมุดบัญชีเงินฝากธ.ก.ส.,เบอร์มือถือ
ธนาคารไทยพาณิชย์
1.เข้าเเอป SCB EASY
2.เลือกเมนู สมัครพร้อมเพย์
3.ยอมรับเงื่อนไขเเล้วกด ถัดไป
4.เลือกบัตรประชาชนที่ต้องการ
5.เลือกบัญชีที่จะผูกพร้อมเพย์เเละกด ผูกบัญชี
6.ผูกพร้อมเพย์สำเร็จกด เสร็จ
ธนาคารกสิกรไทย
1.เข้าเเอปฯK-Plus
2.จากหน้าบัญชีเลือกบริการอื่นๆ
3.เลือก พร้อมเพย์
4.เลือกลงทะเบียน/เเก้ไข
5.เลือก ลงทะเบียนบัตรประชาชน
6.กรอกหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก เลือกบัญชีกดยอมรับเงื่อนไขเเละยืนยัน
7.หน้าจอเเสดงผลลงทะเบียนสำเร็จ
ธนาคารกรุงเทพ
1.เข้าเเอปฯ”Bualuang MBanking
2.เลือกเมนู เพิ่มเติม เลือก พร้อมเพย์
3.ระบุรหัสผ่าน 6 หลัก หรือใช้ Touch ID/Face ID/Finger Print
4.เลือก ลงทะเบียน
5.อ่านเงื่อนไขการใช้บริการเเละกดยอมรับ
6.เลือกประเภทการลงทะเบียน เลือกระบุเลขประจำตัวบัตรประชาชน จากนั้นกด”ต่อไป
7.เลือกบัญชีที่ใช้รับเงิน กด ต่อไป
8.เลือก”เปิดใช้บริการ เตือนเพื่อจ่าย เพื่อส่ง-รับ ข้อความเเจ้งเตือนผ่านพร้อมเพย์ ช่วยโอนเงินได้สะดวก เเละง่ายขึ้น
9.ยืนยันเบอร์มือถือ ระบุรหัสครั้งเดียว(OTP)หากลงทะเบียนด้วยเบอร์มือถือ
10.ตรวจสอบรายละเอียดการลงทะเบียนให้ถูกต้องเเละกด ยืนยัน
11.ลงทะเบียนสำเร็จ
ธนาคารกรุงศรี
1.เข้าเเอปฯKrungsri
2.เลือกเมนู กรุงศรี พร้อมเพย์
3.เลือก ลงทะเบียน
4.ระบบจะดึงหมายเลขบัตรประชาชน /เบอร์มือถือ ที่ผูกกับผู้ใช้งานนั้นๆขึ้นมาเเสดง เพื่อใช้สำหรับผูกบัญชีเเละเลือก ดำเนินการ
5.ตรวจสอบความถูกต้องเเละกดยืนยัน
ขอบคุณ เงินอุดหนุนเด็กเเรกเกิด เเละ บัตรสวัสดิการเเห่งรัฐ ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์